ไร่ชาบุญรอด

ล้วงลึกเรื่องชาเขียวญี่ปุ่นแท้

ล้วงลึกเรื่องชาเขียวญี่ปุ่นแท้

ยอดขาเชียวญี่ปุ่นแท้
ต้นชาที่ไร่บุญรอดแปลงที่ 2
เรามาล้วงลึกเรื่องชาเขียวญี่ปุ่นแท้กันครับ ประโยชน์ที่ได้รับจากการดื่มชาเขียว และชาเขียวแต่ละประเภทมีความแตกต่างกันยังไงบ้างนะคับ

เริ่มด้วยเรื่องของประเภทต่างๆ ของชากันก่อนเลยคับ
ชาจะแบ่งออกเป็นทังหมด 6ประเภทครับ ตามการผลิตนะคับได้แก่ ชาขาว, ชาเหลือง, ชาเขียว, ชาอู่หลง, ชาดำ, ชาผู่เอ๋อร์

ชาประเภทต่างๆ
ชาขาว “Bai Hao Yin Zhen tea leaf (Fuding)” by Iateasquirrel at the English language Wikipedia. Licensed under CC BY-SA 3.0 via Wikimedia Commons – http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Bai_Hao_Yin_Zhen_tea_leaf_(Fuding).jpg#/media/File:Bai_Hao_Yin_Zhen_tea_leaf_(Fuding).jpg ชาเหลือง “Yinzhen”. Licensed under CC BY-SA 3.0 via Wikimedia Commons – http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Yinzhen.jpg#/media/File:Yinzhen.jpg อู่หลง “Oolong tea leaf”. Licensed under CC BY-SA 3.0 via Wikimedia Commons – http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Oolong_tea_leaf.jpg#/media/File:Oolong_tea_leaf.jpg ชาดำ “Black-tea”. Licensed under Public Domain via Wikimedia Commons – http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Black-tea.jpg#/media/File:Black-tea.jpg ชาผู่เอ๋อร์ “Golden melon” by Jason Fasi – Wikipedia. Licensed under CC BY 2.5 via Wikimedia Commons – http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Golden_melon.jpg#/media/File:Golden_melon.jpg

โดยชาทั้งหมดนี้จะเป็นชาจากต้นชา สายพันธุ์เดียวกันคือ Camelia sinensis var sinensis นั่นเอง แต่ความแตกต่างที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากขั้นตอนการผลิต

การผลิตชาแบบต่างๆ
“Teaprocessing” by File:Teaprocessing-small.pngAuthor: User:Sjschensvg:Older version: Own work (User:Yukiseaside)Present version: (User:Sjschen)Chinese versionFile:TeaprocessingZh.svg – File:Teaprocessing-small.png. Licensed under CC BY-SA 3.0 via Wikimedia Commons – http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Teaprocessing.svg#/media/File:Teaprocessing.svg

กรรมวิธีการผลิตที่แตกต่างกัน มีการหมัก กับไม่มีการหมัก ทำให้รสชาติ กลิ่น สี ที่ได้รับไม่เหมือนกันนะคับ การผลิตชาอู่หลงหรือชาดำนั้น จะใช้กรรมวิธีการผลิตโดยใช้ความร้อนคั่ว และตากแดด เพื่อให้แห้ง ถ้าเป็นชาอู่หลงจะทิ้งไว้ให้เกิดการ oxidation บางส่วนที่จะทำให้ใบชากลายเป็นสีน้ำตาล ถ้าเป็นชาดำ จะผ่านการหมักที่มากกว่าชาอู่หลง และทำให้เกิดการ oxidation เต็มที่ ทำให้สีของชาเข้มแตกต่างกันนะคับ

โรงงาน ชาเขียวญี่ปุ่นแท้
โรงงาน ชาเขียวญี่ปุ่นแท้ มารุเซ็น

มาว่าถึงกรรมวิธีการผลิตที่ทำให้ใบชาธรรมดาทั่วๆ ไปกลายเป็น ชาเขียวญี่ปุ่นแท้ กันบ้าง เกิดจากการที่หลังจากเด็ดใบชาเขียวจากต้น ตั้งแต่เช้าตรู่เพื่อให้ไม่โดนแสงแดด และจะนำมาผ่านกรรมวิธีการ Streaming ภายใน 30นาทีเลย เพื่อที่ว่าจะได้ความสด และใบชายังไม่ทันเกิดปฏิกิริยา oxidation นะคับ การทำให้ใบชาเขียวที่ผ่านการอบด้วยไอน้ำแห้งนั้น จะใช้การนวดจนแห้ง (ตรงนี้เป็นเคล็ดลับของชาเขียวแท้ญี่ปุ่นที่ได้รับรู้มาจากการไปชมโรงงานผลิตชาของมารุเซ็นที่เชียงรายเลยนะคับ) โดยวิธีนวดนี้จะแตกต่างจากชาอู่หลงที่ใช้การคั่วด้วยความร้อนแทน ทางผู้ดูแลโรงงานได้บอกว่าชาเขียวที่ขายๆกันในท้องตลาดปัจจุบันนี้ เจ้าอื่นจะใช้การคั่วแบบเดียวกับชาอู่หลง ไม่ได้ใช้การนวดจนแห้งซึ่งมีที่โรงงานของมารุเซ็นที่เดียวเลย ถือเป็นเจ้าแรกและในตอนนี้ถือเป็นเจ้าเดียวเลยด้วยคับ เพราะทางมารุเซ็นได้นำเข้าเครื่องจักรการผลิตมาจากญี่ปุ่นโดยตรงเลย ถือได้ว่ามารุเซ็นเป็นชาเขียวญี่ปุ่นแท้เพียงเจ้าเดียวที่ผลิตในไทยได้เลยคับ

แอปเปิ้ลที่เกิดการออกซิเดชั่นแล้ว
แอปเปิ้ล ที่ฝานเป็นชิ้นเมื่อทิ้งไว้จะเกิดการ oxidation ขึ้น http://food-hacks.wonderhowto.com/how-to/browning-prevention-food-hack-keeps-sliced-fruits-veggies-fresh-bright-for-full-day-0147611/

หลายคนอาจจะงง ว่า oxidation คืออะไร oxidation คือการที่สิ่งของต่างๆทำปฏิกิริยากับอากาศ เหมือนกับเมื่อเราฝานแอปเปิ้ลแล้วทิ้งไว้ แอปเปิ้ลที่เราทิ้งไว้จะค่อยๆ เปลี่ยนสี จากสีขาวเป็นสีเหลืองนั่นแหละคับ หรืออาจจะเป็นสนิมที่เหล็กนี่ก้อคือการ oxidation เหมือนกันนะคับ ทีนี้คนญี่ปุ่นอยากดื่มชาเขียวที่มันสีเขียว ไม่เกิดการ oxidation เค้าเลยคิดค้นกรรมวิธีการผลิตที่ดีที่สุดขึ้นมาครับ

มาต่อกันที่ประโยชน์ของชาเขียวเลยดีกว่าคับ
จากการศึกษาพบว่า ชาเขียวญี่ปุ่นแท้ จะมีสาร antioxidants (หรือที่เรียกว่าสารต้านอนุมูลอิสระกันนั่นแหละคับ) มากกว่าผลไม้ถึง 10เท่าเลยทีเดียว โดยใบชาจากต้นชาพันธุ์คามีเลีย จะมีสาร polyphenols ซึ่งเป็นหนึ่งในสารต้านอนุมูลอิสระ จะมีประโยชน์คือจะช่วยยุติการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของเซลล์ต่างๆในร่างกายเราได้
สารต้านอนุมูลอิสระ
รายละเอียดสารต้านอนุมูลอิสระ จาก wikipedia

มีการทำวิจัยว่าผู้ที่ดื่มชาเป็นประจำ โดยดื่ม2ถ้วยต่อวันขึ้นไป จะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจลดลง และพบว่าไขมันประเภท LDL Cholesterol จะมีปริมาณน้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้ดื่ม มีการทดสอบเรื่อง LDL Choresteral ระหว่างชาอู่หลงกับชาเขียว ปรากฎว่าคนที่ทานชาเขียวจะมีระดับ LDL Choresteral ที่ต่ำกว่า

ชาญี่ปุ่นแท้
ยอดอ่อนใบชา

และบางการทดลองยังพบด้วยว่า ชาจะช่วยให้ metabolism เพิ่มขึ้นด้วย ทำให้ช่วยในเรื่องการลดน้ำหนัก ,ทำให้เนื้องอกเจริญเติบโตช้าลง, ลดอาการภูมิแพ้, กระดูกแข็งแรงขึ้น, ลมหายใจสดชื้นขึ้น, ผิวสวย, ป้องกันโรคพาคินสัน และรวมถึงโรคเบาหวานได้ด้วย

ผลิตภัณฑ์ชาเขียวญี่ปุ่นแท้ ของมารุเซ็น จะแบ่งออกได้ทั้งหมด 4แบบนะคับนั่นคือ

ชาเขียวเซนชะ
Sencha มารุเซ็น

1. ชาเขียวที่เป็นใบ เรียกว่า Sencha การชงจะคล้ายชาจีน โดยจะตักชาใส่ลงไปในถ้วยกรอง แล้วเทน้ำร้อนผ่านถ้วยกรองลงไปสู่กาน้ำชา

ชาเขียวเกนมัยชะ
Genmai cha มารุเซ็น

2. ชาเขียวแบบผสมกับข้าวญี่ปุ่น เรียกว่า Genmai cha จะมีการผสมผสานข้าวญี่ปุ่นเข้าไปในอัตราส่วนที่เหมาะสม ให้ได้กลิ่นที่หอมทั้งชาและข้าวญ๊่ปุ่น การชงจะเหมือนกับแบบ Sencha ให้น้ำร้อนผ่านถ้วยกรองลงไปสู่กาน้ำชา

ชาเขียวมัทฉะ
Tea bag มารุเซ็น

3. แบบใส่ถุงไนล่อน หรือเรียกว่า Tea bag จะคล้ายกับชาจีนทั่วๆ ไป แต่จะใช้ถุงไนล่อนเพื่อที่จะได้ไม่ดูดกลิ่น นอกจากจะใช้กับน้ำร้อนแล้ว สามารถใช้น้ำเย็นหรือน้ำอุณหภูมิห้องชงได้เลย โดยใส่ถุงไปในขวดแล้วเขย่าเพื่อดื่มได้เลย

Matcha ชาเขียวญี่ปุ่นแท้
Matcha มารุเซ็น

4. ชาเขียวแบบแป้ง เรียกว่า Matcha ชามัทฉะ เป็นชาผงบดละเอียดระดับไมครอน โดยจะมีการชงชาที่แตกต่าง คนญี่ปุ่นจะใช้ในพิธีชงชา โดยจะใส่ชาลงไปในถ้วยแล้วตามด้วยน้ำอุ่น แล้วใช้แปรงตีชาให้แตกออกเป็นฟอง  แล้วจะเทชาออกจากแก้วไปมาเพื่อให้อุณหภูมิลดลงจนสามารถทานได้

ไร่ชาบุญรอด
ไร่ชาบุญรอด

ก่อนจบบทความนี้ไป หวังว่าทุกๆท่านคงจะได้รับความรู้เกี่ยวกับชาเขียวญี่ปุ่นแท้ กันไปบ้างไม่มากก้อน้อยนะครับ หลังจากนี้ก่อนจะดิ่มชาเขียวคงสังเกตกันสักนิดนะครับ ว่าชาเขียวสีเขียวหรือเปล่า หรือว่าสีตุ่นๆเพราะเกิดการ oxidation มาแล้ว  ไม่งั้นจะเหมือนเราปลอกแอปเปิ้ลทิ้งเอาไว้ข้ามวันแล้วค่อยทานน่านแหละคับ สารต่อต้านอนุมูลอิสระนี่หายหมดเลย